แอร์การ์ด

แอร์การ์ด
ท่องโลกอินเตอร์เน็ทง่ายกว่าที่คุณคิด

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ตะลึงกันถ้วนหน้า!! มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตรวจพบไส้กรอก 3 ยี่ห้อดังมีสิ่งเหล่านี้เจือปนอยู่

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

"มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค" เตรียมร่อนหนังสือถึงเจ้าของบริษัท - อย. คุมเข้มมาตรฐานผลิต "ไส้กรอก" หลังออกสุ่มตรวจ พบ 3 ยี่ห้อ ผสมสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน

เมื่อวันที่ 4 พ.ค. ที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) น.ส.มลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เปิดเผยว่า ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ได้เก็บตัวอย่างไส้กรอก 15 ยี่ห้อที่วางขายตามท้องตลาด มาตรวจหาสารไนเตรท และสารไนไตรท์ หรือสารกันบูดในอาหาร ซึ่งตามมาตรฐานโคเด็กซ์ กำหนดให้นำมาผสมในอาหารได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัม (มก.) ต่อกิโลกรัม (กก.) ทั้งนี้ผลการทำสอบพบว่ามี 11 ตัวอย่างที่มีการผสมสารทั้ง 2 ชนิดอยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานกำหนด มี 3 ตัวอย่างที่เกินมาตรฐาน โดยมีการผสมสารทั้ง 2 ชนิดในระดับ 148.61 มก./กก.,132.33 มก./กก. และ 91.27 มก./กก. และมีเพียง 1 ยี่ห้อที่ไม่ได้มีการผสมสารทั้ง 2 ชนิดแต่อย่างใด โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ที่ www.chaladsue.com อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบเพิ่มเติมไม่พบว่ามีการผสมสีลงไปแต่อย่างใด

“เราพบว่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมดมีการแสดงข้อมูลการใช้สารกันบูดทั้ง 2 ชนิดไว้ในฉลากโภชนาการเพียง 6 ชนิดเท่านั้น แต่ปัญหาคือ พบว่าฉลากข้อมูลโภชนาการระบุรายงานส่วนผสมสารไนเตรท และไนไตรท์เป็นรหัสตัวเลข ทำให้ประชาชนไม่สามารถทราบได้ว่าแท้จริงแล้วเป็นอะไร จึงอยากให้มีการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อไส้กรอกมารับประทาน ซึ่งจากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่าไส้กรอกหลายยี่ห้อมีเจ้าของหรือผู้ผลิตเดียวกัน” น.ส.มลฤดี กล่าว

ด้าน น.ส.สารี อ๋อง สมหวัง เลขาธิการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ท้องเสียรุนแรง ยิ่งผู้ที่มีอาการแพ้อาจส่งผลต่อระบบหายใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว หมดสติ หรือเสียชีวิตได้ และที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนว่าการรับประทานอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ เช่น เบคอน ไส้กรอก แฮม ในปริมาณมากเกินไปอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ ดังนั้นขอให้ประชาชนเลือกรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ และตรวจสอบข้อมูลโภชนาการทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการรับประทานกลุ่มที่มีการผสมสารกันบูดในอัตราที่เกินกำหนด หรือไม่ควรมีการผสมสารดังกล่าวเลย อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะมีการส่งหนังสือไปยังบริษัทที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์เพื่อแจ้งผลการทดสอบ และขอให้มีการปรับปรุงการใช้สารผสมในอาหารให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด รวมถึงส่งหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้มีการติดตามตรวจสอบ และควบคุมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้ได้มาตรฐานด้วย


อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.dailynews.co.th/politics/395616

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น