แอร์การ์ด

แอร์การ์ด
ท่องโลกอินเตอร์เน็ทง่ายกว่าที่คุณคิด

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559

เปิด ประวัติบรรหาร ตำนานนักการเมืองจากแดน สุพรรณ

ประวัติบรรหาร

ประวัติบรรหาร ?

ประวัติบรรหาร เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน ของนายเซ่งกิม และนางสายเอ็ง แซ่เบ๊ เดิมมีชื่อว่า “นายเต็กเซียง แซ่เบ๊”

จบการศึกษาชั้นประถมที่จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ากรุงเทพฯมาเรียนหนังสือชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาลัย แต่ต้องหยุดเรียนไป เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง หันไปทำงานกับพี่ชาย และก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นของตัวเอง เป็นตัวแทนจำหน่ายคลอรีนให้กับการประปาส่วนภูมิภาค จนมีฐานะร่ำรวย ต่อมาเมื่อนายบรรหารเป็นนักการเมืองแล้ว จึงเริ่มเรียนหนังสือต่อจนจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อ พ.ศ. 2529 และศึกษาต่อปริญญาโทนิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน

เส้นทางการเมือง?

 ประวัติบรรหาร เข้าสู่วงการเมืองจากการชักชวนของ นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ตั้งแต่มีการก่อตั้งพรรคชาติไทยเมื่อ พ.ศ. 2517 โดยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516 และเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2518 ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. 2519 และ ได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาทุกสมัยที่มีการเลือกตั้ง

ต่อมาขึ้นดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคชาติไทย ในปี พ.ศ. 2523 และในปีเดียวกันนั้นถูกนายพินิจ จันทรสุรินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง และคณะรวม 42 คน ยื่นคำร้องต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยว่าเขาขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีบิดาเป็นคนต่างด้าว และสำเร็จการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย

แต่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ มีมติให้ยกคำร้องดังกล่าว ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 นายบรรหารได้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย

สมญานาม?

ลักษณะโดดเด่นหลายประการ ทำให้นายบรรหารมีสมญานามสารพัด

“มังกรสุพรรณ – มังกรการเมือง”

- ความมาจากมีฐานเสียงหนาแน่นอย่างที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานะเป็นเจ้าถิ่นมายาวนาน

“เติ้ง” หรือ “เติ้งเสี่ยวหาร”

- เกิดจากสื่อมวลชนขนานนาม เพราะมีนายบรรหารลักษณะคล้าย “เติ้งเสี่ยวผิง” อดีตผู้นำของจีน

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ.2538 นายบรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้งมากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ทำให้นายบรรหาร ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย พร้อมควบตำแหน่ง รมว.มหาดไทย อีกตำแหน่งหนึ่งระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2538-พฤศจิกายน พ.ศ.2539 รวมระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 1 ปี 4 เดือน

ผลงานโดดเด่นของรัฐบาลบรรหาร คือ การเริ่มร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ปี พ.ศ.2540 ฉบับที่ 16 การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความไม่ราบรื่น กระทั่งในวันที่ 18-20 กันยายน พ.ศ.2539 ถูกพรรคฝ่ายค้าน นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายไม่ไว้วางใจ ประกอบกับพรรคร่วมรัฐบาลขอให้ลาออก แต่เขาตัดสินใจยุบสภาเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2539 แทน

บทบาทหลังการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ.2548 พรรคชาติไทยซึ่งใช้สโลแกนหาเสียงว่า “สัจจะนิยม สร้างสังคมให้สมดุล” ประวัติบรรหาร ในฐานะหัวหน้าพรรค ได้ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า ไม่จะขอร่วมรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร อีก ถ้าพรรคไทยรักไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้

ในห้วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างปี พ.ศ.2548-พ.ศ. 2550 พรรคชาติไทยเป็นฝ่ายค้าน และร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์และพรรคมหาชนคว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2549 นายบรรหาร รวมทั้งนายวราวุธ และ น.ส.กัญจนา ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจาก ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพรรคชาติไทย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2551 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ.2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ลำดับที่ 1
ขอบคุณข้อมูลประกอบ wikipedia.


อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://news.mthai.com/hot-news/politics-news/491512.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น